ยุคแรกของบาสเกตบอล

 ยุคแรกของบาสเกตบอล ก็คือ

  ความพิเศษอย่างหนึ่งของบาสเกตบอล คือถูกคิดขึ้นโดยคนเพียงคนเดียว ต่างจากกีฬาส่วนใหญ่ที่วิวัฒนาการมาจากกีฬาอีกชนิด ช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2434 ดร. เจมส์ ไนสมิท นายแพทย์ชาวอเมริกันที่เกิดในแคนาดา และเป็นผู้ดูแลสถานที่ของวิทยาลัยแห่งหนึ่งของสมาคมวายเอ็มซีเอ (ปัจจุบันคือ วิทยาลัยสปริงฟิลด์, Springfield College) ในเมืองสปริงฟิลด์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ค้นหาเกมในร่มที่ช่วยให้คนมีกิจกรรมทำระหว่างฤดูหนาวในแถบนิวอิงแลนด์ ว่ากันว่า หลังจากเขาไตร่ตรองหากิจกรรมที่ไม่รุนแรงเกินไปและเหมาะสมกับโรงยิม เขาเขียนกฎพื้นฐานและตอกตะปูติดตะกร้าใส่ลูกท้อเข้ากับผนังโรงยิม เกมแรกที่เล่นเป็นทางการเล่นในโรงยิมวายเอ็มซีเอในเดือนถัดมา คือเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1892) ในสมัยนั้น เล่นโดยใช้ผู้เล่นเก้าคน สนามที่ใช้ก็มีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของสนามเอ็นบีเอในปัจจุบัน ชื่อ บาสเกตบอล เป็นชื่อที่เสนอโดยนักเรียนคนหนึ่ง และก็เป็นชื่อที่นิยมมาตั้งแต่ตอนต้น เกมแพร่ขยายไปยังวายเอ็มซีเอที่อื่นทั่วสหรัฐอเมริกา ไม่นานนักก็มีเล่นกันทั่วประเทศ
ภาพ:Firstbasketball.jpg

ทำอย่างไร ให้ลูกเรียนเก่ง และ เล่นบาสเกตบอลให้เก่ง

การ สร้างเทคนิคการเรียนให้แก่นักเรียน คือแนวทางหนึ่งในวิธีการที่จะตอบคำถามนี้ได้ สมาคมผู้ปกครองและครู เล็งเห็นถึงความสำคัญ การสร้างความรัก สร้างเทคนิค การเรียนของนักเรียน เป็นสิ่งสำคัญที่จะให้เกิด ความสนุกต่อการเรียน อยากเรียน ของนักเรียน จากการอ่าน บทความนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ แก่ นักเรียน รวม ถึงการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครอง ในการมีส่วนร่วมร่วมต่อการเรียนของลูกๆ

 รวมเทคนิคการเล่นบาส

ทำอย่างไรให้ลอยตัวในอากาศได้นานและกระโดดได้สูง






มีขอแนะนำในสิ่งที่เหมาะกับสภาพนักกีฬาในบ้านเรานะครับวิธีง่ายๆก็คือ การวิ่งเพื่อความอดทนโดยวิ่งรอบสนามอย่างน้อย 4 รอบ(1,600 เมตร) อย่างน้อย ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงค่อยเพิ่มความเร็วโดยการวิ่งระยะสั้น สลับกับการวิ่งระยะยาว ต่อมาในเดือนที่ 2 เดือนที่ 3 ควรเน้นหนักในการฝึกการกระโดด ดังนี้
1.กระโดดข้ามกล่องกระดาษซึ่งมีความสูงประมาณ 1 ฟุต กว้าง 1 ฟุต กระโดดเท้าคู่ไปทางด้านข้าง ซ้ายที ขวาที
2.กระโดดยกเข่าแตะอก
3.กระโดดยกส้นเท้าแตะก้น
4.กระโดดข้ามกล่องกระดาษ 4 กล่องซึ่งวางเรียงกัน โดยแต่ละกล่องห่างกัน 2 ฟุต กระโดดเท้าคู่ข้ามทีละกล่องอย่างต่อเนื่อง
5.กระโดดเอามือแตะขอบแป้นบาส
6.กระโดดอยู่กับที่อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง พยายามเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เน้นการถีบตัวกระโดดให้สูงขึ้น
แต่มีข้อแนะนำวิธีการกระโดด เพราะเห็นนักกีฬาจำนวนมากที่บาดเจ็บหัวเข่า เนื่องจากกระโดด ไม่ถูกวิธี โดยการกระโดดที่ถูกวิธีนั้นจะต้องย่อตัวทั้งก่อนกระโดด และหลังการกระโดดขึ้นไปแล้ว
เมื่อปลายเท้าแตะพื้นจะต้องย่อตัวพร้อมทั้งเหยียบพื้นเต็มเท้า ก่อนการกระโดดจะต้องย่อตัวลง (ย่อตัวนะครับไม่ใช้ก้มตัว) เขย่งส้นเท้าขึ้น จิกปลายเท้าให้แน่นแล้วถีบ ตัวขึ้นไป
เมื่อลงสู่พื้นก็ใช้ปลายเท้าลงจึงตามด้วยส้นเท้าแล้วย่อตัว อย่าใช้ส้นเท้าลงก่อนปลายเท้าเพราะจะทำให้น้ำหนักทั้งตัว ลงที่ส้นเท้าจะเจ็บส้นเท้าและอาจเป็นรอยช้ำ
เมื่อเหยียบพื้นเต็มเท้า ให้ทิ้งตัวย่อลงอย่ายืนตัวแข็ง เพราะจะทำให้หัวเข่ารับน้ำหนัก และบาดเจ็บที่หัวเข่าได เมื่อฝึกทุกอย่างแล้วให้สลับฝึกทุกวันเช่น วิ่งระยะยาว วิ่งเร็ว กระโดด ความคล่องตัว
ทำเป็นประจำคุณก็จะสามารถกระโดดได้สูงและลอยตัวในอากาศ ได้นานกว่าเดิมแน่นอน



ทำอย่างไรจึงยืนป้องกันได้ดี






การยืนป้องกันจะต้องอยู่ในท่าย่อตัวหรือท่าสมดุล ยืนเต็มฝ่าเท้า น้ำหนักอยู่กึ่งกลางฝ่าเท้าทั้งสองข้างและให้มี ความรู้สึกว่าน้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ที่ก้นคล้ายกับว่าเรานั่งบนเก้าอี้
เมื่ออยู่ในท่าย่อขณะป้องกันจะต้องมองไปที่ท้องของผู้ถือบอล ยืนห่างจากผู้ถือบอล 1 ช่วงแขน ห้ามมองที่ตาหรือบอลเด็ดขาด(เพราะอาจโดนหลอกเอาง่ายๆ)
บอลจะเคลื่อนไปได้ด้วยมือโยกไปมา แต่ถ้าร่างกายเคลื่อนจะต้องมีการเคลื่อนไหวทั้งลำตัว ดังนั้นท้องจะต้องเคลื่อนไปด้วย ถ้าท้องเคลื่อนจึงค่อยเคลื่อนไปตามทิศทาง ที่ท้องเคลื่อนไป



ทำอย่างไรให้เลี้ยงบอลได้คล่อง






สิ่งแรกที่จะทำให้เราเลี้ยงบอลคล่องแคล่วว่องไว จนกระทั่งสามารถหลบหลีกการป้องกันของคู่แข่งขัน คือ "การจัดลักษณะท่าทางที่ถูกต้อง"
ท่าทางที่ถูกต้องจะต้องอยู่ในท่าย่อตัว หรือถ้าจะพูดให้เกิดภาพที่ชัดเจนคือท่า "นั่งเก้าอี้" ถ้าถนัดมือขวาให้ใช้เท้าซ้ายอยู่เหนือเท้าขวา
ช่องว่างระหว่างเท้ากว้างกว่าหัวไหล่ เท้าซ้ายคล่มบังบอลทำมุมประมาณ 45 องศา กับเท้าขวา (ทิศทางที่จะเลี้ยงไปถือว่าเป็นมุม 90 องศา กับลำตัวที่ยืนตรง เท้าซ้ายทำมุม 45 องศา กับด้านขวาของลำตัว)
ในขณะที่หัวไหล่ทำมุมประมาณ 25 องศา ยกแขนซ่ายขึ้นในขณะที่เลี้ยงบอลช้าหรือขณะที่มีผู้ป้องกันจะเข้ามาแย่งบอล
เมื่ออยู่ในลักษณะท่าทางที่ถูกต้อง ผู้ป้องกันจะไม่สามารถแย่งบอลได้ ถ้าผู้ป้องกันเข้ามาทางด้านขวามือ ผู้เลี้ยงจะหมุนตัวกลับเปลี่ยนทิศทางไปด้านซ้ายมือ
โดยเปลี่ยนเลี้ยงบอลด้วยมือซ้ายและยกมือขวาขึ้นมาบังด้านหน้าไว้ ฝึกการเปลี่ยนทิศทางการพาบอล
เช่น เปลี่ยนจากขวาไปซ้ายด้านหน้า เปลี่ยนจากซ้ายไปขวาด้านหน้า เปลี่ยนโดยการหมุนตัว เปลี่ยนโดยารตวัดหลัง เปลี่ยนโดยลอดระหว่างขา
ฝึกเลี้ยงบอลทุกวันโดยการพยายามจับจังหวะการขึ้นลงของบอลให้มือควบคุมลูกบอลได้ตลอดเวลา เมื่อ ประมาทสั่งให้ทำอะไรมือก็ต้องทำได้เช่น
ให้ไปซ้ายมือก็ต้องพาบอลไปด้านซ้าย เป็นต้น อย่าลืมนะครับการที่จะเลี้ยงบอลคล่องต้องฝึกตามวิธีการที่ถูกต้องทุกวัน

วิธีเล่นลูกบอล

วิธีเล่นลูกบอล

กีฬาบาสเกตบอลคือ การเล่นลูกบอลด้วยมือ แต่การพาลูกบอลวิ่ง การเตะลูกบอล หรือการชกลูกบอล เป็นการทำผิดกติกา

การเตะลูกบอลหรือสกัดลูกบอลด้วยส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้เล่นเป็นการทำผิดกติกาได้เมื่อการกระทำโดยจงใจเท่านั้นและการที่เท้าหรือขาถูกลูกบอลโดยไม่ถือเป็นการทำผิดกติกา

การครอบครองลูกบอล ผู้เล่นได้ครอบครองลูกบอล เมื่อผู้เล่นถือลูกบอลหรือเลี้ยงลูกบอลดี หรือในกรณีที่ครอบครองลูกบอลนอกเขตสนามก็ต่อเมื่อลูกบอลอยู่ในมือของผู้เล่นเพื่อส่งลูกบอลเข้าเล่น

ทีมครอบครองลูกบอล เมื่อผู้เล่นของทีมนั้นได้ครอบครองลูกบอล รวมทั้งเมื่อลูกบอลถูกส่งไปมาระหว่างผู้เล่นของทีมนั้น ซึ่งทีมจะได้ครอบครองลูกบอลต่อไปจนกระทั่งคู่แข่งขันได้แย่งการครอบครองลูกบอล หรือเกิดมีบอลตาย หรือได้มีการยิง

ประตูตอนที่ลูกบอลหลุดออกจากมือผู้ยิงประตูไปแล้ว

- ผู้เล่นออกนอกเขตสนาม - ลูกบอลออกนอกเขตสนาม
- ผู้เล่นจะออกนอกเขตสนามเมื่อสัมผัสพื้นบนเส้นขอบสนาม หรือนอกเขตสนาม
- ลูกบอลออกนอกเขตสนาม เมื่อถูกสิ่งต่อไปนี้
1. ผู้เล่นหรือบุคคลอื่นผู้ซึ่งอยู่นอกเขตสนาม
2. พื้นหรือวัตถุอื่นใดนอกเขตสนาม
3. สิ่งค้ำยันหรือด้านหลังของกระดานหลัง

การเลี้ยงลูกบอล

การเลี้ยงลูกบอล

การเลี้ยงลูกบอลจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นได้ครอบครองลูกบอล แล้วทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่โดยการโยน ปัด หรือกลิ้งลูกบอลแล้วไปถูกลูกบอลอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะไปถูกผู้เล่นคนอื่น ในการเลี้ยงลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องถูกพื้นสนามภายหลังจากการทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ดังกล่าวแล้ว ผู้เล่นจะสิ้นสุดการเลี้ยงลูกบอลทันทีที่เขาได้สัมผัสลูกบอลด้วยสองมือพร้อมๆ กัน หรือทำให้ลูกบอลพักอยู่ในมือใดมือหนึ่งหรือทั้งสองมือ ไม่จำกัดว่าผู้เล่นจะต้องก้าวเท้ากี่ก้าว ขณะที่ลูกบอลไม่สัมผัสมือของเขา

ผู้เล่นจะต้องไม่เลี้ยงลูกบอลครั้งที่สองภายหลังการเลี้ยงลูกบอลครั้งแรกสิ้นสุดลง เว้นแต่ว่าได้เสียการครอบครองลูกบอลเพราะเหตุต่อไปนี้
1. ทำการยิงประตู
2. ถูกคู่แข่งปัดลูกบอลออกจากการครอบครอง
3. การส่งหรือการทำลูกบอลหลุดจากมือโดยบังเอิญ แล้วลูกบอลไปถูกผู้เล่นคนอื่น หรือผู้เล่นคนอื่นถูกลูกบอล ผู้เล่นที่โยนลูกบอลใส่กระดานหลังแล้วไปถูกลูกบอลอีกก่อนที่ลูกบอลจะถูกผู้เล่นคนอื่น เป็นการทำผิดกติกา เว้นแต่ผู้ตัดสินเห็นว่าเป็นการยิงประตู

เรียกรายงานตัวทีมชาติชาย - หญิง สู้ศึกซีเกมส์

เรียกรายงานตัวทีมชาติชาย - หญิง สู้ศึกซีเกมส์

เปิดศักราชใหม่แห่งยัดห่วงไทย ภายใต้การบริหารของ "เฮียจอห์นนี่" สุรศักดิ์ ชินวงศ์วัฒนา นายกคนใหม่คราวนี้เปิดศักราชของทีมชาติไทยในยุคของตนเอง เริ่มด้วยการแข่งขันซีเกมส์มีการเรียกรายงานตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วที่อาคาร 300 เตียง กกท. หัวหมากจัดขึ้นที่ห้องอาหาร เวลาเที่ยงตรง เมื่อนักกีฬามาถึงก็จัดอาหารบุฟเฟต์ให้รับประทานกันก่อน รสชาติใช้ได้ทีเดียวสำหรับการมารายงานตัวครั้งนี้ ทีมหญิงแทบครบ ขาดเพียง 2 รายที่ 1 จำเป็น "ตาโต" ฤมลชนก เจ็บ ส่วน "ดรีม" พรรณิดา เด็ก16 จากเชียงใหม่ อยู่ไกล ส่อแววถอน เพราะขอเรียนหนังสือดีกว่า (เรียนเก่ง)
     ด้านทีมชายมั่ง ขาดเยอะ
4 ขุนพลทิวไผ่งามไม่มา ทราบว่าติดแข่งอยู่นครสวรรค์ และโทร.แจ้งเลขาฯ พิพัฒน์ ลาภปรารถนา แล้วกานต์ณัฐ เสมอใจ ขาดเพราะไปต่างประเทศ เพิ่งมาถึงไทยวันเดียวกันสุขเดฟ มาสายเพราะติดเรียน โสภณ พินิจพัชรเลิศ ลาไปเช็งเม้ง
สำหรับรายชื่อนักบาสฯมีดังนี้ ชาย 20 คน นักกีฬาที่มารายงานตัว 12 คน ประกอบไปด้วย จักรพันธ์  ศิลปพิพัฒน์, อรรถพร เลิศมาลัยภรณ์, ปิยพงศ์ พิรุณ, มานะ จันทุมา, กัณวัฒน์  เลิศเลาห์กุล , วัฒนา สุทธิสินธุ์, บุญชัย ฤทธิปัญญาวงศ์, ชนะชนม์ กล้าหาญ, อูทแมน แอลมาบรู๊ค, ธีรยุท ทินใต้, ศุภชัย สังข์ทอง และวุฒิพงษ์ ดาโสม สำหรับนักกีฬาที่ไม่ได้มารายงานตัว ประกอบไปด้วย สุขเดฟ โคเคอร์,โสภณ พินิจพัชรเลิศ,ชัยวัฒน์ แกดำ,รัชเดช เครือทิวา,ดรงค์พันธ์ อภิรมย์วิไลชัย,ณัฐกานต์ เมืองบุญ และกานต์ณัฐ เสมอใจ
  หญิง 23 คน นักกีฬาที่มารายงานตัว 21 คน ประกอบไปด้วย  นฤมล บ้านหมู่, จุฑามาศ จันทกาล, ชโรทัย สุขสมวงษ์, ชลธิชา เชิดเพชรรัตน์, จุฑาทิพย์ มธุรส, เพ็ญพรรณ โยธานันท์, รติพร นาคสามัคคี, สุวิมล แสงเทศ, นิภา สร้างคำ, ชลิสา ชำนาญวารี, อัจฉรา กายชัยภูมิ, พรนัชชา สวาทอง, ศรัญญา จุ้ยนิ่ม, สุรีย์ พรหมราช , กรกนก คชรัตน์, อังคณา บัวพา, น้อมจิต ทันซาว, สุปราณี  รัดรอดกิจ,ไอลดา สุขสี ,ณัฐมน สุรินทร และชลดา เอี่ยมสำอาง สำหรับนักกีฬาที่ไม่ได้มารายงานตัว ประกอบ ไปด้วย ฤมลชนก ดอกสายหยุด(บาดเจ็บ) และพรรณิดา อาจศรี
 ภายหลังนักกีฬารายงานตัว นายกสมาคมฯ กล่าวว่า พอใจที่นักกีฬามารายงานตัวถึง 90% จากรายชื่อนักกีฬาทั้งหมด ที่ให้ความร่วมมือกับสมาคมบาสฯ ส่วนที่ไม่มาก็ได้ติดต่อแจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้วว่าติดภารกิจ  "ผมรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่มีส่วนในการทำทีมชาติชุดนี้ พร้อมให้ความช่วยเหลือ และคำปรึกษาสำหรับนักกีฬาทุกคน พร้อมแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถพาทีมชาติไทยชุดนี้คว้าแชมป์ทั้งประเภทชาย และ หญิงในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ปลายปีนี้"
  ในการเก็บตัวระยะยาวครั้งนี้เนื่องจากนักกีฬาบางส่วนมีการแข่งขันร่วมกับทางสโมสร ทางสมาคมบาสฯ จึงมีข้อตกลงกับทางต้นสังกัดของนักกีฬาว่า จะให้นักกีฬาเดินทางเข้าร่วมการฝึกซ้อมสัปดาห์ละ 2 วัน(วันเสาร์ และวันอาทิตย์) สำหรับงบประมาณในการทำทีมบาสไทยชุดนี้อยู่ราวๆ 15 ล้านบาท โดยเน้นไปทางการจ้างผู้ฝึกสอนระดับนานาชาติมาดูแลทีม และเงินอัดฉีดนักกีฬา ซึ่งงบประมาณสนับสนุน มาจาก กกท.เป็นหลักและสปอน์เซอร์ต่างๆ

รายชื่อนักกีฬาเพื่อคัดเลือกตัวเป็นตัวแทนเยาวชนทีมชาติไทย

 สมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศ  ในพระบรมราชูปถัมภ์  ขอประกาศเรียกตัวผู้ฝึกสอนและนักกีฬา   เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันบาสเกตบอลเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งอาเซียน รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี  ระหว่างวันที่  29  เมษายน  -  6  พฤษภาคม  2551  ณ  ประเทศมาเลเซีย   และเข้าร่วมการแข่งขันบาสเกตบอลเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย  รุ่นอายุไม่เกิน  18  ปี   ระหว่างวันที่  28  สิงหาคม  -  5  กันยายน  2551  ณ  ประเทศอิหร่าน   รายชื่อดังต่อไปนี้


ผู้ฝึกสอน
 1.             MR.  FELTON  SEALEY
 2.             นายสุนทรพงศ์        มะวิญธร                 
 3.             นายมานิจ       นิยมยินดี

นักกีฬา

 1.       นายบัณฑิต               หลักหาญ             ทีมโรงเรียนสตรีวิทยา 2
 2.       นายบูรณิน                หวานแก้ว             ทีมโรงเรียนสตรีวิทยา 2           
 3.       นายปิยวิทย์               ตันหิรัญ               ทีมโรงเรียนสตรีวิทยา 2
 4.       นายอธิวัฒน์               หุมอาจ                     ทีมโรงเรียนสตรีวิทยา 2
 5.       นายสุขเดฟ                โคเคอร์                    ทีมโรงเรียนสตรีวิทยา 2             
 6.       นายธีรศักดิ์                สุขสบาย              ทีมโรงเรียนสตรีวิทยา 2
 7.       นายบัณฑิต                หลักหาญ             ทีมโรงเรียนสตรีวิทยา 2
 8.       นายภาณุวัฒน์            จินตนาควิชัย          ทีมสโมสรทิวไผ่งาม 
 9.       นายคงกฤษณ์             แป้นไทย              ทีมสโมสรทิวไผ่งาม           
10.      นายกิตติวัฒน์             บุญมีมา                ทีมสโมสรทิวไผ่งาม 
11.      นายณัฐพล                 มนต์ธนานุชาติ       ทีมสโมสรทิวไผ่งาม
12.      นายวรภัทร                ปานกล่อม              ทีมสโมสรทิวไผ่งาม
13.      นายณัฐกานต์             เมืองบุญ                ทีมสโมสรทิวไผ่งาม
14.      นายเสกสรรค์             หาญชาติ                ทีมสโมสรทิวไผ่งาม
15.      นายมนต์วิทย์             พิสิฐบุตร                 ทีมสโมสรทิวไผ่งาม
16.      นายณรงค์ฤทธิ์           บ้านหมู่                   ทีมสโมสรทิวไผ่งาม
17.      นายวุฒิพงศ์               ดาโสม                   ทีมชมรมบาสเกตบอล จ.สงขลา
18.      นายอเนชา                 กองผุย                  ทีมโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย (บ้านโป่ง)
19.      นายอาชาไนย            สาระทรัพย์              ทีมสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
20.      นายดนุภพ                 พิบูรย์วัฒนวงษ์         ทีมสโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

นักบาสNBAขอเปลี่ยนชื่อเป็นเมตตา โลกสงบ

นักบาสNBAขอเปลี่ยนชื่อเป็นเมตตา โลกสงบ





รอน อาร์เทสต์ นักบาสของทีมแอลเอ เลเกอร์สทำเรื่องแปลกๆ เมื่อเขาอยากเปลี่ยนชื่อเป็น เมตตา โลกสงบหรือ Metta World Peace โดยเขาได้ยื่นคำร้องต่อศาลสูงท้องถิ่นแล้วและเตรียมฟังผลในเดือนสิงหาคมนี้

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า รอน อาร์เทสต์ นักบาสเกตบอลของทีมแอลเอ เลเกอร์สเกิดมีอาการซึ่งในรสพระธรรมในศาสนาพุทธได้เตรียมที่จะเปลี่ยนชื่อจากภาษาอังกฤษธรรมดาเป็น Metta World Peace หรือ เมตตา โลกสงบ โดยอาร์เทสต์ได้ให้ทนายของเขายื่นเรื่องต่อศาลสูงลอสแองเจลิสโดยอาร์เทสต์ระบุว่าต้องการเปลี่ยนชื่อเพราะเหตุผลส่วนตัวโดยวันที่26ส.ค.นี้จะได้รับฟังผลการพิจารณาของศาล

โดยก่อนหน้านี้อาร์เทสต์เคยคว้าแชมป์NBAกับเลเกอร์สในปี2010 ถือเป็นนักบาสที่มีประพฤติไม่ดีทั้งในและนอกสนามจนถูกจับถูกแบนไปหลายครั้งก่อนที่เขาจะเริ่มกลับใจซึ่งเขาเคยนำแหวนแชมป์NBAไปประมูลขายเพื่อนำรายได้มาให้กับองค์การกุศลด้านสุขภาพอีกด้วย

คำอธิบายกติกาการเปลี่ยนตัว

คำอธิบายกติกา
การเปลี่ยนตัว


1. เมื่อเกิดการฟาวล์ การโยนโทษจะพิจารณาเป็นชุดหรือเป็นกลุ่มของการฟาวล์

คำนิยาม

ชุด อาจจะมีลักษณะดังนี้ คือ โยนโทษ 1 ครั้ง หรือโยนโทษ 1+1 หรือ โยนโทษ 2 ครั้ง หรือโยนโทษ 3 ครั้ง

กลุ่ม อาจจะมีลักษณะดังนั้ คือ

- โยนโทษ 1+1 และโยนโทษ 2 ครั้ง

- โยนโทษ 2 ครั้ง และโยนโทษ 2 ครั้ง + การครอบครองบอล

- โยนโทษ 1 ครั้ง และโยนโทษ 2 ครั้ง

- และการโยนโทษลักษณะผสมใด ๆ ของกลุ่มที่นอกเหนือจากนี้

2. ถ้าภายหลังได้เริ่มดำเนินการโยนโทษของกลุ่มการโยนโทษ แล้วปรากฎว่ามีการฟาวล์ หรือการทำผิดระเบียบเกิดขึ้นก่อนจะเริ่มเดินเวลาการแข่งขัน การลงโทษคือ การโยนโทษ (ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง) การเล่นลูกกระโดด หรือการส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเส้นข้างอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็ให้เปลี่ยนตัวเพิ่มได้อีก

ผู้เล่นสำรอง

ผู้เล่นสำรอง



ผู้ เล่นสำรองก่อนที่จะเข้าไปในสนามต้องรายงานตัวต่อผู้บันทึก และต้องพร้อมที่จะทำการแข่งขันได้ทันที โดยผู้บันทึกจะต้องให้สัญญาณทันทีที่มีบอลตาย และหยุดเวลาการแข่งขัน แต่ต้องกระทำก่อนที่ลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นอีกครั้งหนึ่งภายหลังการทำผิด ระเบียบ เฉพาะทีมที่ไม่ได้ทำผิดระเบียบคือ ทีมที่จะส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเขตสนามทางเส้นข้างมีสิทธิ์เปลี่ยนตัวผู้ เล่น ถ้าได้มีสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิ์เปลี่ยนตัวได้ ผู้เล่นสำรองจะต้องรออยู่นอกเส้นข้างจนกว่าผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณจึงจะเข้า ไปในสนามแข่งขันได้อย่างทันที
การ เปลี่ยนตัวต้องเสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่มีการชักช้าโดยไร้เหตุผลอันควร ก็ให้เป็นเวลานอกแก่ทีมที่ล่าช้านั้นผู้เล่นที่จะเล่นลูกกระโดดจะไม่ให้ เปลี่ยนตัวกับผู้เล่นคนอื่น

ผู้เล่นที่ได้เปลี่ยนตัวออกไปแล้วจะไม่ให้เข้าไปในสนามแข่งขันอีกในช่วงการเปลี่ยนตัวเดียวกันจะไม่ให้มีการเปลี่ยนตัวในกรณีต่อไป

1. ภายหลังการทำประตูได้ เว้นแต่ว่าได้มีการให้เวลานอก หรือมีการขานฟาวล์ หรือ

2. จากช่วงเวลาตั้งแต่ลูกบอลเข้าสู่การเล่นเพื่อการโยนโทษครั้งแรก หรือครั้งเดียว กระทั่งได้มีบอลตายอีกครั้งหนึ่งของช่วงเวลาการเดินนาฬิกาจับเวลาการแข่งขัน หรือกระทั่งมีการขานฟาวล์ หรือมีการกระทำผิดระเบียบก่อนจะเดินนาฬิกา การลงโทษสำหรับการโยนโทษ การเล่นลูกกระโดด หรือการส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกสนามทางเส้นข้าง

ข้อยกเว้น ในกรณีที่มีการทำฟาวล์ระหว่างการโยนโทษ จะอนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัวได้ แต่เฉพาะเมื่อการดำเนินการโยนโทษและการฟาวล์ก่อนหน้านั้นได้เสร็จสมบูรณ์ แล้วเท่านั้น และก่อนที่ลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นสำหรับโทษของการฟาวล์ครั้งใหม่ ภายหลังการโยนโทษครั้งเดียวหรือครั้งสุดท้ายได้ผล เฉพาะผู้โยนโทษเท่านั้น จะอนุญาตให้เปลี่ยนตัวได้ โดยมีข้อแม้ว่าต้องขอเปลี่ยนตัวไว้ก่อนลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นเพื่อโยนโทษ ครั้งแรกหรือครั้งเดียวเท่านั้น ในกรณีนี้อีกฝ่ายหนึ่งอาจจะเปลี่ยนตัวได้คนหนึ่ง โดยมีข้อแม้ว่าได้ขอเปลี่ยนตัวไว้ก่อนที่ลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นก่อนการโยน โทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียวนั้น ภายหลังจากที่ผู้บันทึกได้ให้สัญญาณเพื่อการเปลี่ยนตัว ไม่อาจจะบอกยกเลิกการขอเปลี่ยนตัวได้อีก อย่างไรก็ตาม จะขอยกเลิกการขอเปลี่ยนตัวได้ทุกเวลา ก่อนที่ผู้บันทึกจะให้สัญญาณว่ามีการขอเปลี่ยนตัว

กติกา ของบาสเกตบอล



กติกา ของบาสเกตบอล




บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นระหว่างผู้เล่น 2 ชุด ชุดละ 5 คน โดยมีจุดมุ่งหมายว่า แต่ละชุดต้องนำลูกบอลไปโยนให้ลงห่วงประตูของคู่แข่งขัน และพยายามป้องกันมิให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ครอบครองลูกบอล หรือทำคะแนน ทั้งนี้ผู้เล่นอาจจะส่ง โยน ปัดกลิ้ง หรือเลี้ยงลูกบอลไปยังทิศทางใดก็ได้ให้ถูกต้องตามกติกา

ประวัติกีฬาบาสเกตบอลในประเทศ

ประเทศไทยเริ่มเล่นกีฬาบาสเกตบอลกันตั้งแต่เมื่อใด สมัยใด ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน
อย่างแน่ชัด แต่เท่าที่ค้นคว้าและมีหลักฐานยืนยันว่าในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ นายนพคุณ
พงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีนได้แปลกติกา การเล่นบาสเกตบอลจากภาษาอังกฤษ
เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก

       พ.ศ ๒๔๗๗ กรมพลศึกษาได้จัดการแข่งขันกีฬา บาสเกตบอลระดับนักเรียนขึ้น
เป็นครั้งแรก สมัยที่ น.อ หลวงศุภชลาศัย ร.น ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพลศึกษา

       พ.ศ ๒๔๙๕ ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลระหว่างนักเรียนหญิง และ
การแข่งขันระหว่างประชาชนทั่วๆไป

     พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มีการจัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย และได้เป็นสมาชิก สมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศตั้งแต่ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๙๖
      ปัจจุบันกีฬาบาสเกตบอลถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแทบ ทุกระดับการศึกษา
คือตั้งแต่ระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังมี การแข่งขัน อยู่ตลอดเวลา
องค์กรสำคัญที่ส่งเสริมและจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล ในประเทศไทย ได้แก่
สมาคมบาเกตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ กรมพลศึกษา กรุงเทพมหานคร
การกีฬาแห่งประเทศไทย ทบวงมหาวิทยาลัย (กีฬามหาวิททยาลัย) กองทัพ (กีฬาเหล่าทัพ) กองทัพอากาศ (กีฬานักเรียน) สถาบันการศึกษาทั่วไป